วช. และ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ยกระดับหัตถกรรมท้องถิ่นสู่ทุนวัฒนธรรม ด้วยวิจัยและนวัตกรรม





สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และสื่อมวลชน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลสำเร็จจากกลไกววน. ในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หัตกรรมท้องถิ่นในพื้นที่การดำเนินงาน “โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในยุควิถีชีวิตใหม่ : KOYORI Project” โดยมี ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหัวหน้าโครงการฯ ระหว่างวันที่ 27 - 28 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ณ สินค้าหัตถกรรมของกลุ่มเก๊ากล้วยล้านนา ต.ประตูป่า จ.ลำพูน, ศูนย์บริการคนพิการออทิสติกจังหวัดเชียงใหม่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ และกลุ่มทอผ้าไทลื้อ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน 

 









ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้ความสำคัญต่อการวิจัยและนวัตกรรมโดยยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก : KOYORI Project สามารถผลักดันการนำเทคนิคและกระบวนการพัฒนาทักษะ เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองรวมทั้งการใช้กระบวนการเฉพาะในการพัฒนาและเพิ่มทักษะเฉพาะกลุ่มดึงศักยภาพของผู้พิการออทิสติก ให้สามารถมีทักษะและพัฒนาการที่ดี เพื่อให้สามารถมีอาชีพของตนเอง นอกจากนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ได้รับการส่งเสริมและสร้างกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารกิจการของกลุ่มหัตถกรรมพื้นเมือง เพื่อยกระดับมูลค่าของผลิตภัณฑ์หัตถกรรม พร้อมกับสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเข้ากับเทรนด์ของโลกในอนาคต

 





สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ประสบผลสำเร็จจากกระบวนการยกระดับการสร้างสรรค์ ที่วช. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานภายใต้โครงการ KOYORI Project ในครั้งนี้ ได้มีเป้าหมายในการติดตามพัฒนาการและการเพิ่มทักษะทางฝีมือ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ โดยในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Aujaa' Craft จากศูนย์บริการคนพิการออทิสติกจังหวัดเชียงใหม่ สามารถส่งเสริมให้สมาชิกที่เป็นผู้พิการออทิสติกและผู้ปกครองสร้างรายได้จากทักษะการย้อมสีจากเส้นฝ้ายเพื่อใช้ในงานถัก ภายใต้แนวคิด “ความงามในความไม่สมบูรณ์” 






นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ขะแจ๋หลงตู้ จากกลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านธิลำพูน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ซึ่งลายขะแจ๋หลงตู้ได้รับการยอมรับจากกระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชุมชนขะแจ๋ กลไกของโครงการ KOYORI Project ได้นำเสน่ห์ของการสวมใส่ชุดของชาวไทลื้อ มาเป็นวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยขั้นตอนที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมที่เรียบง่ายมีเสน่ห์ ในการเก็บ การห่อ การใส่ของใช้ต่าง ๆ ลงในผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเป็นบรรจุภัณฑ์และเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำให้เสร็จสมบูรณ์ได้จากการนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของชุมชนมาใช้ โดยผลงานชุดนี้จะนำลวดลาย"ขะแจหลงตู้"ซึ่งได้รับการยอมรับจากกระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชุมชนเป็นลายหลักที่ใช้ในทุกชิ้นงาน





วช.มุ่งสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ในการพัฒนาทักษะและยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อนำอัตลักษณ์และภูมิปัญญา เข้าสู่กระบวนการสร้างสรรค์ที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับจากภายในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเพิ่มการสร้างและพัฒนาผู้นำที่เป็นครูช่างของท้องถิ่น ให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความยั่งยืน ด้วยรูปแบบเฉพาะที่พัฒนาจากงานวิจัยและนวัตกรรมภายใต้ KOYORI Project โดยการดำเนินงานของ มทร.ล้านนา เชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

โพสต์แนะนำ

“ยิ่งยง” จับมือ P2WARSHIP ส่งเพลงรัก 3 เส้า “มีวาสนา”

3 หนุ่ม คนดนตรีคุณภาพ “โอ๋-ธรรมศักดิ์ ลือภูวพิทักษ์กุล” “ป๋วย-คงยศ วงษ์วิกย์กรณ์” และ “ปั้น-พงศธร แก้วสุข” ในนามศิลปินกลุ่มวง P2WARSHIP (พีท...

banner

banner

บทความที่ได้รับความนิยม

ข่าว

[ข่าว][bsummary]

วช

[วช][twocolumns]

PP Tour

อื่น

[อื่น][bleft]

ทริปทัวร์ ใน และต่างประเทศ

[ทริป][bsummary]

ภาคกลาง

[ภาคอีสาน][twocolumns]