วช.จัดบรรเลงครึกครื้น “ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง” สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งคีตศิลป์

 


วช.จัดบรรเลงครึกครื้น “ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง” สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งคีตศิลป์ 

วันนี้ (วันที่ 27 เมษายน 2565) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดเวทีบรรเลงเพลงพื้นบ้าน ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง ผลผลิตจากโครงการวิจัย “โครงการวิจัยพื้นที่ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน และโครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ”ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข หัวหน้าโครงการวิจัย และมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข ควบคุมการจัดแสดง “ฟื้นเมืองเชียงแสนด้วยเสียงเพลง” การบรรเลงดนตรีโดย วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) ควบคุมวง โดย พันเอก ดร.ประทีป สุพรรณโรจน์ และสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง โดย ดร.สุชาติ วงษ์ทอง ณ ลานหน้าวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน 

จังหวัดเชียงราย โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมคณะ และสื่อมวลชน ให้เกียรติเข้าร่วมงาน

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย

และนวัตกรรม กล่าวว่า งานนี้เป็นการแสดงศิลปะดนตรี และเป็นการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ซึ่งดำเนินการโดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข 

ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการรังสรรค์ท่วงทำนองคีตศิลป์กระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า กิจกรรมบรรเลงเพลงพื้นบ้านที่จังหวัดเชียงราย

โดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้าเป็นผลงานการวิจัยใน “โครงการวิจัยพื้นที่ ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน และโครงการขยายผลต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ” การบรรเลงดนตรี

โดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra)  นำไปสู่การส่งเสริมการรังสรรค์คีตศิลป์ผ่านบทเพลงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์เป็นการสร้างผลงานศิลปะทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการอนุรักษ์และต่อยอด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาจารย์สุกรี เจริญสุข และคณะ จะเป็นตัวอย่างในการสร้างสรรค์ท่วงทำนองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติเกิดการสานต่อสิ่งที่บรรพบุรุษของเราหลงเหลือไว้โดยการ สร้างดนตรี สร้างศิลปะ สร้างการละเล่น เกิดการพัฒนาด้วยดนตรีพื้นบ้านอันเป็นสมบัติที่ล้ำค่าของคนไทยสู่ระดับสากล




ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการให้การสนับสนุน ในการสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทั้งศาสตร์ และ

ศิลป์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมหนึ่งในนั้นก็คือในเรื่องของงานดนตรี การสร้างสรรค์งานศิลป์

ด้านดนตรี อีกหลายพื้นที่ที่รับการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้นำไปสู่การขยายผลต่อยอดวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้าน

เพื่อนำไปเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ กิจกรรมดังกล่าวจะนำไปสู่การส่งเสริมและอนุรักษ์ในด้านคุณภาพ

ของศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น การดึงศิลปะวัฒนธรรม การดึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นออกมาเรียงร้อยผ่านความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่นผ่านดนตรีพื้นบ้าน การสื่อสารออกมาผ่านดนตรีมาตรฐานสากล วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า ในอนาคตผลิตภัณฑ์ของดนตรีพื้นบ้านของเราได้รับการยอมรับและพัฒนาให้เป็นมาตรฐานของสินค้าที่จะสื่อสารออกไปสู่สากล 

ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข  เปิดเผยว่า ปัจจัยการนำเพลงท้องถิ่นเพลงพื้นบ้านเพลงไทยที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาเรียบเรียงใหม่ โดยการสนับทุนการวิจัยจาก วช. ในปีงบประมาณ 2565 ได้รับอนุมัติให้ต่อยอดโครงการไปแสดงดนตรีตามหัวเมืองใหญ่ 5 เมืองคือ สุโขทัย เชียงแสน สกลนคร เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช โดยยังคงรักษารูปแบบเดิม แต่ละเมืองก็จะมีบทเพลงท้องถิ่นงานวิจัยชิ้นนี้นำวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า พร้อมนักดนตรีที่มีฝีมือทุกคนไปแสดงในพื้นที่ ในท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรม โดยนำบทเพลงของชุมชนและท้องถิ่นที่ผู้คนรู้จักไปแสดงแทนบทเพลงคลาสสิกของฝรั่ง นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงในพื้นที่โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ควรเคารพเพื่อใช้ดนตรีหล่อหลอมและกล่อมเกลาความรู้สึกใหม่ของสังคม เสียงดนตรี

ที่สะอาดออกมาจากจิตใจที่สะอาด อาทิ วัดพระราม พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปราสาทหินอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ที่วัดเจดีย์หลวง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ดังนั้นอุทยานประวัติศาสตร์เชียงแสน จึงเป็นเป้าหมายของการแสดงโดยอธิบายเรื่องราวของเพลงให้ผู้ฟังก่อนเข้าสู่บทเพลงพร้อมทั้งประกอบด้วยการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลง การวิจัยดนตรีครั้งนี้เป็นการทดลองที่จะนำเสนอโดยเอาอดีตมารับใช้ปัจจุบันเพื่อจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เป็นทางเลือกให้กับวิถีชีวิต ชุมชน และท้องถิ่นเป็นรูปแบบวัฒนธรรมใหม่สู่การขยายทางวัฒนธรรมทางด้านดนตรีต่อไป

โดยการแสดงดังกล่าวได้จุด “ประกาย” แสงสว่างไสวทำให้คนในพื้นที่ได้มองเห็น และตระหนักถึงการรักษาบทเพลงพื้นบ้านให้คงอยู่ เป็นประกายที่สำคัญ ในโอกาสนี้ได้จัดการแสดงบรรเลงบทเพลง เพลงวงคนเวียงเก่า 

วงสะล้อซอซึงชาวบ้านเชียงแสน เพลงระบำเชียงแสน จากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ เพลงฤๅษีหลงถ้ำ เป่าปี่จุมโดย นายภานุทัต อภิชนาธง จากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ เป็นต้น เพลงพื้นบ้านจะคงอยู่ต่อไปหากลูกหลานไทยช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานเพลงพื้นบ้านให้คงอยู่มนต์เสน่ห์แห่งคีตศิลป์สะท้อนวิถีชีวิตของชุมชนด้วย 

“วงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า”

ไม่มีความคิดเห็น:

banner

banner

ข่าว

[ข่าว][bsummary]

วช

[วช][twocolumns]

PP Tour

อื่น

[อื่น][bleft]

สังคม

[สังคม][bsummary]

บันเทิง

[บันเทิง][twocolumns]

108newstravel.com

108newstravel.com
108newstravel.com