3 ทศวรรษ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) เปิดเวที “30 ปี TEI ก้าวไปกับภาคี สู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”
วันนี้ (30 สิงหาคม 2566) ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ จัดงาน “30 ปี TEI ก้าวไปกับภาคี สู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี TEI ในฐานะที่เป็นหน่วยงานคลังสมอง (Think Tanks) ด้านสิ่งแวดล้อม และมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอันครอบคลุมทุกมิติ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคตามมาตรฐานสากลที่ยึดมั่นในความเป็นกลาง โดยการจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และทิศทาง โอกาส บทบาทในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ในระดับเชิงนโยบายและการปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล อันจะเป็นรากฐานสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ภายในงานมีการนำเสนอสรุปผลงานของ TEI ที่ได้ดำเนินการมากว่า 30 ปี แสดงผ่านบอร์ดนิทรรศการภายใต้หัวข้อ “30 ดี 30 ปี TEI” ถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของ TEI บนเส้นทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศทั้งในระดับเชิงนโยบายและการปฏิบัติในพื้นที่ รวมถึงการผนึกกำลังกับทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ในช่วงการบรรยายพิเศษเปิดมุมมอง “วิกฤตสิ่งแวดล้อม: วาระของประเทศและพันธมิตร” ได้เกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ Ms. Gita Sabharwal, United Nations Resident Coordinator, Thailand ได้นำข้อมูลสถานการณ์วิกฤตสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลกที่ได้ส่งผลกระทบในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมหาทางออกให้พ้นจากวิกฤตอันเป็นแรงขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานในเชิงพื้นที่
เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท อั๊คโซ่ โนเบล เพ้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมเสวนาภาคี “รัฐ-เอกชน-ประชาสังคม” สู่สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน นำโดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับ คุณปัณวรรธน์ นิลกิจศรานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายวิศวกรรมโครงสร้าง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด คุณวราภรณ์ หิรัญวัฒน์ศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมอาวุโส ธนาคารโลก คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ องค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่นด้านสิ่งแวดล้อม และ คุณอเล็กซ์ เรนเดลล์ ดารานักแสดงและทูตสันถวไมตรีด้านสิ่งแวดล้อมคนแรกของไทย
นอกจากนี้ TEI ได้มีการจัดกิจกรรมเจาะลึกในหลากหลายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญมาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอันครอบคลุมทุกมิติ อันจะเป็นรากฐานสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนภายใน 4 ห้องสัมมนาย่อย ประกอบด้วย
ห้องย่อยที่ 1 ในหัวข้อ “ความท้าทายธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน” โดย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ได้ร่วมกับ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) เปิดเวทียกระดับมาตรฐานขององค์กรธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ
ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึง บทบาทขององค์กรภาคธุรกิจไทยในการร่วมแก้ไขปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม (Country Issue) และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ และการยกระดับมาตรฐานขององค์กรภาคธุรกิจไทยไปสู่การเป็นองค์กรต้นแบบธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business) อันเป็นการยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองนโยบายของประเทศไทยที่มุ่งสู่ Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 และ Net Zero GHG Emission ในปี ค.ศ. 2065 ที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและได้รับการยอมรับจากสากล
ห้องย่อยที่ 2 ในหัวข้อ “สานพลังสังคม จัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติ สู่ความยั่งยืน” ซึ่งเป็น 1 ประเด็นการผนึกความร่วมมือและเปิดเวทียกระดับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในด้านทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลองค์ความรู้การจัดการฐานทรัพยากรให้กับภาคีความร่วมมือ ด้วยปี 2566 เอลนีโญ่ ถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของคนไทยและคนทั่วโลก การนำเสนอข้อมูลวิชาการและสถานการณ์
เอลนีโญ่ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติจากรณีตัวอย่าง การจัดการลุ่มน้ำ
การจัดการพรุ การจัดการระบบนิเวศเกษตร และการจัดการท่องเที่ยว เป็นต้น เสริมสร้างความตระหนัก การตั้งรับ และการปรับตัวให้เท่าทันวิกฤติความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดภัยแล้งในอนาคต โดยทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมบริหารจัดการร่วมกันและเกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป
ห้องย่อยที่ 3 ในหัวข้อ “ฉลากสิ่งแวดล้อมกับการส่งเสริมธุรกิจเพื่อการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน” ทางรอดที่ไม่ใช่ทางเลือกสำหรับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ทำให้ต้องมีวิถีปฏิบัติในการซื้อสินค้าและเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสินค้าและบริการเหล่านั้นจะต้องมีฉลากสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการบ่งชี้ว่ามีสินค้าหรือบริการเหล่านั้น
มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน นอกเหนือจากนั้นการมี
ฉลากสิ่งแวดล้อมยังเป็นการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสทางการค้า เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือของ
ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคการเงิน ภาควิชาการ และภาคประชาชน เพื่อทำให้เกิดการส่งเสริมธุรกิจเพื่อการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน ยกระดับการปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นทางรอดของโลกนี้ที่มีเพียงใบเดียว
ห้องย่อยที่ 4 ในหัวข้อ “พลัง Youth...หยุดโลกร้อน” ด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะ
โลกร้อน กำลังอยู่ในความสนใจของสังคมโลกและคนไทยเริ่มรู้สึกได้ถึงผลกระทบในชีวิตประจำวัน สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจึงได้รวบรวมประเด็นการทำงานด้านภาวะโลกร้อนร่วมกับกลุ่มเยาวชน นำมาจัดกิจกรรมเวทีย่อยก่อนงานวันนี้แล้ว จำนวน 2 ครั้ง ในหัวข้อ “คนพันธุ์ใหม่คิดอย่างไรกับปัญหาโลกร้อนจาก Single Use Plastic” และ “คนพันธุ์ใหม่จะอยู่อย่างไร เมื่อโลกร้อน” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM ซึ่งมีเยาวชนเข้าร่วมอบรมและเล่นเกมเสริมสร้างความรู้-ความเข้าใจ รวมถึงการเสนอไอเดียในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมกว่า 200 คน ในงานวันนี้ ถือเป็นเวทีย่อยครั้งที่ 3 ในรูปแบบ Hybrid เป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ใหญ่ใจดีทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้แทนประชาชน มาร่วมกันส่งต่อนโยบายการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงโอกาสในการขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญให้กับโลกใบนี้ ประเด็นต่าง ๆ ที่ได้รับจากการจัดงานในวันนี้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยไปผนวกรวมกับแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถาบันฯ เพื่อทำงานร่วมกับภาคีต่าง ๆ เพื่อก้าวต่อไปของ TEI และภาคีเยาวชนกับนโยบาย Net Zero ของประเทศไทย ต่อไปในอนาคต
********************************************************
ไม่มีความคิดเห็น: